Handball
กีฬาแฮนด์บอลที่เรารู้จักทุกวันนี้ได้เริ่มต้นมาจากประเทศเยอรมันนี ในราวศตวรรษที่ 19 โดยครูสอนพลศึกษาชื่อ ดอนแรด คอช (Donrad Koch) ซึ่งได้ดัดแปลงวิธีการเล่นอาศัยทักษะพื้นฐานจากการเล่นฟุตบอลและบาสเกตบอล ระยะแรกเรียกชื่อเกมนี้แตกต่างกันเช่น ฮอกกี้มือ โปโลบก และมีจำนวนผู้เล่นทีมละ 11 คนเหมือนฟุตบอล
- ค.ศ. 1900 ประเทศเยอรมันนี เชคโกสโลวาเวียและเดนมาร์ก ได้เข้าร่วมปรับปรุงเกมการเล่นพื้นฐานขึ้นและประเทศทางยุโรปในฤดูหนาวไม่สามารถเล่นกีฬากลางแจ้งได้จึงใช้ห้องพลศึกษาดัดแปลง ตอนแรกๆ ใช้ผู้เล่น 11 คนเท่าฟุตบอลแต่ไม่สะดวกเพราะสถานที่คับแคบจึงได้ลดจำวนผู้เล่นลงเหลือข้างละ 7 คน
- ค.ศ. 1904 กีฬาแฮนด์บอลอยู่ในความดูแลของ I.A.A.F (สหพันธ์กีฬาสมัครเล่นระหว่างชาติ) ได้รับความนิยมมากขึ้น มีประเภทต่างๆ ให้ความสนใจและมีการจัดบรรจุในรายการกิจกรรมกีฬาของประเทศนั้นๆ ตลอดจนได้จัดให้มีการแข่งขันกันระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
- ค.ศ. 192 นายคาร์ล เซลเลนซ์ (Kari Schelenz) ได้ปรับปรุงขนาดของลูกให้เล็กลงและปรับปรุงกติกาว่าให้เคลื่อนที่ในขณะที่ไม่มีการส่งลูกและเลี้ยงบอลได้ 3 ก้าว
- ค.ศ. 1926 I.A.A.F (สหพันธ์กีฬาสมัครเล่นระหว่างชาติ)ได้ตั้งคณะกรรมการกีฬาแฮนด์บอลขึ้นโดยเฉพาะโดยมีคณะกรรมการที่ได้รับการคัดเลือกจากประเทศต่างๆ ในเครือสมาชิกกีฬาประเภทนี้ มีการประชุมตกลงเรื่องกติกา เป็นจุดเริ่มต้นกีฬาแฮนด์บอลได้แยกตั้งเป็นกีฬาประเภทหนึ่งโดยเอกเทศ
- ค.ศ. 1928 มีการตั้งสหพันธ์แฮนด์บอลสมัครเล่นนานาชาติขึ้น มีสมาชิก 11 ประเทศ ในโอกาสที่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์พร้อมกับได้จัดให้มีการสาธิตการแข่งขันกีฬาแฮนด์บอลขึ้นในครั้งนี้ด้วย
- ค.ศ. 1931 แฮนด์บอลก็ถูกบรรจุเข้าเป็นรายการแข่งขันกีฬาระหว่างชาติโดยการยอมรับของ I.O.C.
- ค.ศ. 1934 ประเทศสมาชิกสหพันธ์แฮนด์บอลสมัครเล่นนานาชาติได้รับความสนใจจากประเทศต่างๆ ขยายตัวเพิ่มเป็น 25 ประเทศ
- ค.ศ. 1936 ได้มีการบรรจุกีฬาแฮนด์บอลเข้าในกีฬาโอลิมปิกที่กรุงเบอร์ลินประเทศเยอรมันนีหรือที่เรียกว่า NAZI OLYMPIC โดยประเทศเยอรมันนีได้ครองเหรียญทอง
- ค.ศ. 1938 ประเทศเยอรมันนีก็ได้รับความสำเร็จอีกครั้ง ในการเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันแฮนด์บอลชิงชนะเลิศของโลกเป็นครั้งแรกเช่นกัน โดยมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมแข่งขันจำนวน 10 ประเทศ
- ค.ศ. 1946 ได้มีการสถาปนาสหพันธ์ฯ ขึ้นมาใหม่เรียกชื่อว่า สหพันธ์แฮนด์บอลนานาชาติหรือ THF โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้งในครั้งรวม 8 ประเทศ (เดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์ ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์)
- ค.ศ. 1954 สหพันธ์แฮนด์บอลนานาชาติ (THF) ได้จัดให้มีการแข่งขันแฮนด์บอลในร่มชิงชนะเลิศของโลกขึ้นเป็นครั้งแรก ปรากฏว่าประเทศสวีเดนเป็นผู้ชนะเลิศ
- ค.ศ. 1956 ได้จัดให้มีการแข่งขันแฮนด์บอลหญิงซึ่งเป็นครั้งแรก ประเทศเชคโกสวาเกียเป็นผู้ชนะเลิศและได้มีการปรับปรุงกติกาขึ้นใหม่ซึ่งกลายมาเป็นกติกาที่ใช้เล่นกันอยู่ในปัจจุบัน โดยอาศัยกติกาของฟุตบอลและบาสเกตบอลมาผสมกัน
- ค.ศ. 1959 กีฬาแฮนด์บอลได้แพร่หลายเข้าไปในสหรัฐอเมริกาโดยมี ด.ร. ปีเตอร์ บัชนิ่ง (Dr.Peter Bushning) ซึ่งในปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานสหพันธ์ทีมแฮนด์บอลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ริเริ่มนำกีฬาแฮนด์บอลเข้ามาเผยแพร่ที่รัฐนิวยอร์กและรัฐนิวเจอร์ซี
- ค.ศ. 1968 บี.เจ โบว์แลนด์ (B.J.Bowland)และ ฟิลโฮแลด (Phil Hoden) ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมแฮนด์บอลประเทศอังกฤษได้จัดให้มีการประชุมระหว่างสมาชิกของสมาคมแฮนด์บอลต่างๆ ในประเทศอังกฤษ เพื่อเข้าร่วมเป็นสมาพันธ์ระหว่างชาติ กีฬาแฮนด์บอลจึงถือว่าเป็นสื่อกลางเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมิตรประเทศ
- ค.ศ. 1969 ในประเทศอิตาลีกีฬาแฮนด์บอลได้รับความนิยมมากขึ้น จึงได้ขอเข้าร่วมและเดินทางมาแข่งขันที่ประเทศอังกฤษเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ไมตรีระหว่างประเทศ
- ค.ศ. 1972 กีฬาแฮนด์บอลได้รับการบรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกอีกครั้งหนึ่ง ณ เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมันนีปรากฏว่าประเทศยูโกสลาเวียได้เหรียญทอง
- ค.ศ. 1976 ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงมอนทรีลประเทศแคนาดาก็ได้มีการบรรจุการแข่งขันประเภทหญิงขึ้นด้วย ซึ่งสหภาพโซเวียตได้ครองตำแหน่งชนะเลิศทั้งทีมชายและทีมหญิง
- ค.ศ. 1982 ในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 9 ที่ประเทศอินเดียได้มีการบรรจุกีฬาแฮนด์บอลไว้แข่งขันเป็นครั้งแรก
การพัฒนาของกีฬาแฮนด์บอลมีมาตามลำดับและนับว่าเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก ไม่เพียงแต่จะเป็นที่นิยมเล่นกันเฉพาะในยุโรปเท่านั้น แต่ทั้งอเมริกาเหนือ แอฟริกาและเอเชีย ก็มีประชาชนสนใจเล่นกีฬานี้กันแพร่หลายทั่วโลกมากกว่า 120 ประเทศ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียและประเทศแถบยุโรปตะวันออก ซึ่งจัดเป็นประเทศที่ริเริ่มและบุกเบิกการเล่นกีฬาแฮนด์บอลข้างละ 7 คน ได้พัฒนาการเล่นในระดับชั้นนำของโ,ก แต่ในปัจจุบันประเทศในแถบเอเชียของเราก็มีการแข่งขันและมีการพัฒนาการเล่นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
*0*
ตอบลบ