วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วิธีการบริหารร่างกาย

    
        การบริหารร่างกายสำหรับการเล่นกีฬา  จะต้องทำก่อนการเล่นกีฬาทุกครั้ง  เพื่อที่จะทำให้ระบบการทำงานของร่างกายมีความพร้อมที่จะเล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะ
ความพร้อมทางด้านกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ อีกทั้งการบริหารร่างกายจะช่วยให้อัตราการหายใจและการไหลเวียนของโลหิตเพิ่มขึ้น  ดังนั้นการบริหารร่างกายก่อนการเล่นทุกครั้งจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง  ในการเรียนวิชาพลศึกษา  แต่ละคาบอาจจะใช้เวลาในการบริหารร่างกายเพียง 5 – 8 นาที  เพราะเวลาเรียนมีน้อย  คือ 50 นาที  แต่ถ้าเป็นการฝึกซ้อมกีฬาเพื่อการแข่งขัน  การบริหารร่างกายจะใช้เวลานานกว่านี้  อาจใช้เวลา 20 – 30 นาที  โดยเริ่มจากเบาไปหาหนัก  ซึ่งนอกจากจะเป็นการเรียมความพร้อมของร่างกายแล้ว  ยังเป็นการสร้างความแข็งแกร่งของร่างกาย และป้องกันการบาดเจ็บได้อีกด้วย  หลังจากการเล่นหรือการฝึกซ้อมก็จะต้องมีการบริหารร่างกายด้วยเพราะในขณะเล่นหรือฝึกซ้อม  กล้ามเนื้อจะยืดและหดตัวอยู่บ่อยครั้ง ทำให้เกิดการเมื่อยล้า บางครั้งก็เจ็บปวดจึงต้องมีการผ่อนคลาย  วิธีผ่อนคลายก็คือการบริหารร่างกายอย่างช้าๆ เบาๆ เช่น การวิ่งเหยาะๆ การเหวี่ยงแขน การยืดกล้ามเนื้อ เป็นต้น
การบริการร่างกายทำได้ทั้งการบริหารร่างกายด้วยท่ามือเปล่า  และการบริหารการประกอบอุปกรณ์ เช่น บาร์เบล ดัมเบล หนังยาว ยางรถยนต์ ลูกบอลบรรจุทราย เป็นต้น  อาจจะเป็นการบริหารร่างกายแบบอยู่กับที่หรือแบบที่ต้องเคลื่อนที่  เช่น  การเดิน การวิ่ง การกระโดดไปข้างหน้า ไปข้างหลัง ไปด้านข้าง  เป็นต้น  และการบริหารร่างกายอาจทำคนเดียวหรือจับคู่ทำสองคนก็ได้
การบริหารร่างกายก่อนการเล่นกีฬานั้นจะมี 2 แบบ  คือ  จะเริ่มด้วยการบริหารร่างกายทั่วไปก่อน  ซึ่งท่าในการบริหารร่างกาย  หนักเบา  ช้าเร็ว   ไม่เท่ากัน  การบริหารร่างกายแบบเฉพาะมักใช้อุปกรณ์ประกอบด้วย  เช่น  การใช้น้ำหนักในการบริหารร่างกาย  การดึงหนังยาง  การลากยางรถยนต์  เป็นต้น  การบริหารร่างกายแบบเฉพาะอาจใช้ท่ามือเปล่าก็ได้  โดยเพิ่มความหนักในการบริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อที่จะต้องใช้ปฏิบัติกิจกรรมนั้นๆ
ตัวอย่างการบริหารร่างกาย
ท่าการบริหารร่างกายนั้นมีมากมายหลายท่า  ผู้เรียนอาจจำแบบมาหรือคิดขึ้นเองก็ได้  แต่ที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างของท่าการบริหารร่างกาย  ซึ่งจะเป็นท่าการบริหารร่างกายทำมือเปล่า  โดยทำคนเดียวและจับคู่ทำสองคน
ท่าในการบริหารร่างกาย
1.บริหารคอ
1.1.ยืนตัวตรงเท้าห่างกันเล็กน้อย  น้ำหนักตัวอยู่ตรงกลาง
1.2.ปล่อยให้ศีรษะค่อย ๆ ตกลงมาด้านหน้าให้มากที่สุด
1.3.กลับคืนสู่สภาพเดิมแล้วเอียงศีรษะไปทางด้านหลัง  พยายามไม่ปล่อยให้ศีรษะตกไป
1.4.กลับคืนสู่สภาพเดิม  ทำเช่นเดียวกันไปทางซ้าย
1.5.หันศีรษะไปทางขวาให้มากที่สุดกลับมาตรงกลางแล้วจึงหันไปทางซ้ายมือ    ทำซ้ำ ตามจำนวน
2.บริหารหัวไหล่
2.1.ยืนให้เท้าห่างกันประมาณ   1  ช่วงไหล่
2.2.กางแขนทั้งสองข้าง  ให้อยู่ในระดับไหล่
2.3.หมุนแขนให้เป็นวงกลมเล็ก ๆ ไปข้างหลังให้มีความรู้สึกตึงที่บริเวณอก
3.บริหารเอว
3.1.ยืนเท้าห่างกันประมาณ   1 ช่วงไหล่
3.2.มือทั้งสองข้างเท้าเอว  แล้วโยกหมุนไปรอบ ๆ
3.3.หมุนไปทางซ้ายแล้วกลับหมุนไปทางขวา
4.บริหารกล้ามเนื้อขา
4.1.ยืนเท้าห่างกันประมาณ   1 ช่วงไหล่
4.2.มือประสานกันอยู่ที่ท้ายทอย   ย่อเข่าลงให้มุมที่เข่าประมาณ   90  องศา
4.3.กลับสู่ท่าเดิมทำติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง
 5.บริหารหลัง
5.1.ยืนเท้าห่างกันประมาณ   1 ช่วงไหล่
5.2.มือประสานกันเหนือศีรษะ  ก้มตัวเอามือทั้งสองแตะที่พื้น
5.3.เข่าทั้งสองตึง   แล้วกลับสู่ท่าเดิม
6.บริหารช่วงอกและด้านหลังของต้นขา
6.1.ยืนให้เท้าห่างกันเล็กน้อย   หายใจเข้าและประสานมือไว้ข้างหลัง
6.2.ในขณะที่หายใจออกพยายามยกแขนให้มากที่สุด  โดยการโน้มตัวไปข้างหน้าจากสะโพก  หายใจตามปกติในท่านี้
6.3.นับ   1  ถึง   4  แล้วหายใจลึก ๆ

7.บริหารช่วงข้าง
7.1.ยืนเท้าห่างกันและขนานกัน
7.2.ยกแขนทั้งสอง ข้างแล้วเอื้อมขึ้นให้สูง   ทำทีละข้างสลับกันไป
8.บริหารช่วงท้อง
8.1.นอนหงายราบไปกันพื้น   มือแนบกันอยู่บนศีรษะ
8.2.ยกแขนและเท้าขึ้นพร้อม ๆ กันเป็นรูปตัว วี
8.3.ลดแขนและขาลงพร้อมกันกลับสู่ท่าเริ่ม
8.4.ทำติดต่อกันไป
9.บริหารกล้ามเนื้อแขน
9.1.ถือตุ้มน้ำหนักทั้งสองข้าง หันออกจากลำตัวเล็กน้อย
9.2.งอแขนขวาเข้าหาลำตัว
9.3.ดึงแขนขวาลง แล้วงอแขนซ้ายเข้าหาลำตัว
10.การดันพื้น
10.1.เหยียดแขนตรง ยกลำตัวให้สูงขึ้นจากพื้น
10.2.งอแขนทั้งสองข้าง พร้อมยุบลำตัวลงไป ให้ลำตัวตรงเกือบขนานกับพื้น
10.3.ดันแขนทั้งสองข้างขึ้นไปให้ลำตัวยกสูงขึ้น
10.4.ทำซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง
กติกาแฮนด์บอล
การแข่งขันแฮนด์บอล ทีมชายและทีมหญิงอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป แบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 30 นาที พัก 10 นาที ถ้าครึ่งแรกเล่นเกินเวลาที่กำหนดไว้ในครึ่งหลังก็จะต้องหักเวลาที่เกินออกไป แล้วเล่นจนเต็มเวลา 30 นาทีของครึ่งหลัง ถ้าผลเสมอกันในช่วงเวลาปกติ ให้เพิ่มเวลาพิเศษ หลังจากพักแล้ว 5 นาที เพื่อเสี่ยงเลือกส่งหรือเลือกแดนสำหรับเวลาในการต่อเวลาพิเศษ โดยช่วงเวลาที่เพิ่มจะแบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 5 นาที (เปลี่ยนแดนกันในครึ่ง โดยไม่มีเวลาพัก) ถ้าผลยังเสมอกันอีก ก็ให้ต่อเวลาพิเศษในช่วงที่ 2 โดยให้เสี่ยงเลือกส่งหรือเลือกแดน และการแข่งขันจะไม่มีการพัก (ถ้าผลจากการต่อเวลาพิเศษยังเสมอกันอยู่ ให้ประยุกต์กติกานี้เพื่อหาผู้ชนะ)
ทีมที่เข้าแข่งขัน
ต้องส่งรายชื่อผู้เล่นทีมละ 12 คนลง (ผู้เล่น 6 คน ผู้รักษาประตู 1 คน) ที่เหลือเป็นผู้เล่นตัวสำรอง ขณะเริ่มแข่งขันทีมหนึ่งจะต้องมีผู้เล่นไม่น้อยกว่า 5 คน เมื่อแข่งไปจะมีผู้เล่นน้อยกว่า 5 คนก็ได้ การเปลี่ยนตัวเข้าออกได้ตลอดเวลา เปลี่ยนออกมาแล้วก็เปลี่ยนกลับลงไปเล่นได้อีก โดยไม่ต้องบอกผู้บันทึกและผู้จับเวลา แต่จะต้องรอให้ผู้เล่นในสนามออกจากสนามก่อน แล้วก็จะต้องเข้าออกตรงบริเวณเส้นเปลี่ยนตัวของฝ่ายตนเองเท่านั้น ถ้ามีการเข้ามาเกินผู้เล่นคนนั้นจะถูกสั่งพัก 2 นาที และผู้เล่นในทีมนั้นจะต้องออกจากสนาม 1 คน ให้เหลือ 6 คน อยู่ 2 นาทีแล้วแต่ผู้ตัดสินจะกำหนดให้ใครออก
ผู้รักษาประตู
สามารถออกไปเล่นในสนามได้ และสามารถที่จะเปลี่ยนเป็นผู้รักษาประตูได้ตลอดเวลาแต่จะต้องเปลี่ยนเสื้อกันด้วย เคลื่อนที่ไปในเขตประตูพร้อมกับลูกบอลได้โดยไม่มีขีดจำกัดแต่จะพาลูกออกไปนอกเขตประตูไม่ได้ ถ้าออกมานอกเขตแล้วจะกลับเข้าเขตประตูพร้อมกับลูกบอลไม่ได้ ให้นับเป็นประตู ถ้าผู้เล่นเจตนาส่งลูกบอลกลับเข้าประตูของตนก็ให้นับประตูนั้นด้วย
การเล่นลูกบอล
1. อนุญาตให้ผู้เล่น ขว้าง จับ หยุด ผลัก หรือตีลูกบอลด้วยมีทั้งสองได้ รวมทั้งแขน ศีรษะ ลำตัว ต้นขา เข่า จับลูกบอลไว้ในมือเดียวหรือ 2 มือ จะทำได้ไม่เกิน 3 วินาที หรือก้าวได้ไม่เกิน 3 ก้าวการพิจารณาก้าว คือ
*ผู้เล่นยืนด้วยเท้าทั้ง 2 ข้างบนพื้น แล้วยกเท้าหนึ่งวางลงหรือเคลื่อนไปที่อื่น
*ผู้เล่นสัมผัสพื้นเพียงเท้าเดียว จับลูกบอลแล้วใช้เท้าข้างหนึ่งสัมผัสพื้น
*ก้าวขากระโดดลงพื้นด้วยเท้าเดียว และกระโจนด้วยเท้าเดิมหรือสัมผัสพื้นด้วยเท้าอื่น
*กระโดดลงสัมผัสพื้นด้วยเท้าทั้ง 2 พร้อมกัน แล้วยกเท้าข้างหนึ่งแล้ววางเท้านั้นลง หรือเคลื่อนเท้าหนึ่งไปยังที่อื่น (ให้ลากเท้าอีกข้างตามได้)
*ในขณะยืนหรือวิ่ง กระดอนลูกครั้งหนึ่งและจับด้วยมือเดียวหรือ 2 มือ
*การเลี้ยงลูกบอล กระดอนซ้ำด้วยมือเดียวหรือกลิ้งบอล หลังจากนั้นจึงจับลูกบอลหรือเก็บลูกบอลขึ้นมาด้วยมือเดียวหรือ 2 มือ
*ขณะที่จับลูกบอลด้วยมือเดียวหรือ 2 มือนั้น ทำได้ภายใน 3 วินาที หรือจากก้าวไม่เกิน 3 ก้าว การกระดอนลูกสามารถใช้ส่วนต่างๆ ได้ เมื่อลูกบอลถูกผู้เล่นคนอื่นหรือถูกประตูผู้เล่นสามารถที่จะปัด กระดอน และจับลูกบอลได้อีก
*ส่งบอลจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่ง
2. เล่นลูกบอลในขณะที่กำลังคุกเข่า นั่ง หรือนอนอยู่บนพื้นไม่อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำดังนี้
*ถูกลูกบอลมากกว่า 1 ครั้ง นอกจากลูกบอลไปถูกผู้เล่นอื่น หรือเสาประตู
*การพยายามครองลูกบอลพลาด (Fumbling) จะไม่ถูกลงโทษ
หมายเหตุ ลูกบอลพลาด หมายถึงการที่ผู้เล่นพยายามที่จะจับหรือหยุดลูกบอล แต่พลาดจากการครอบครอง
*ถูกลูกบอลด้วยเท้าหรือขาซึ่งอยู่ต่ำกว่าเข่าลงไปยกเว้นในกรณีที่คู่ต่อสู้ได้ขว้างลูกบอลมาถูกผู้เล่น แต่อย่างไรก็ตาม การทำผิดอย่างนี้จะไม่ถูกลงโทษถ้าไม่เป็นการทำให้เกิดการได้เปรียบกับผู้เล่นหรือทีมของเขา
*ทิ้งตัวลงเล่นในขณะที่ลูกบอลวางอยู่บนพื้นหรือกำลังกลิ้งอยู่ แต่กติกาข้อนี้จะต้องไม่นำไปใช้กับผู้รักษาประตูในขณะที่อยู่ในเขตประตูของตัวเอง
*เจตนาทำลูกบอลออกนอกเส้นข้างหรือเส้นประตู กติกาข้อนี้จะต้องไม่นำไปใช้กับผู้รักษาประตูในขณะที่พยายามที่จะครอบครองลูกบอลพลาดภายในเขตประตู และลูกบอลได้ออกไปทางเส้นประตูโดยตรง (ส่งจากประตู)
*ครอบครองลูกบอลอยู่ภายในทีม โดยไม่พยายามที่จะรุกหรือทำประตู การเล่นในลักษณะนี้จะถูกลงโทษโดยให้ส่งลูกกินเปล่าจากจุดที่ลูกได้หยุดลง
*การเล่นจะดำเนินต่อไปถ้าลูกบอลถูกผู้ตัดสินในสนาม
* การนับประตู
จะนับเป็นประตู เมื่อลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านเข้าไปในเส้นประตูโดยผู้ทำประตูและเพื่อนร่วมทีมไม่ทำผิดกติกาก่อน ถ้าลูกบอลจะเข้าประตูแน่นอนแต่บุคคลอื่นหรือสิ่งอื่นที่ไม่มีสิทธิ์เข้าไปในสนามมาป้องกันไม่ให้ลูกบอลเข้าประตู ผู้ตัดสินพิจารณาให้เป็นประตู เมื่อผู้ตัดสินเป่านกหวีดให้ส่งเริ่มเล่นต่อไปแล้ว ประตูที่ได้จะเปลี่ยนแปลไม่ได้ ผู้ที่ทำประตูได้มากกว่าถือว่าเป็นผู้ขนะการแข่งขัน
หมายเหตุ ถ้าทั้ง 2 ทีมได้คะแนนเสมอกัน ให้ถือว่าเสมอกัน
* การส่งเริ่มเล่น
จะทำที่จุดกึ่งกลางสนามในในทิศทางใดก็ได้ต้องทำภายใน 3 วินาที ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องอยู่ห่างจากผู้ส่งเริ่มเล่นอย่างน้อย 3 เมตร (ยกเว้นผู้กระโดด)
* การส่งลูกเข้าเล่น
ต้องส่ง ณ บริเวณที่ลูกบอลออกโดยผู้ส่งลูกเข้าเล่นจะต้องมีเท้าข้างหนึ่งอยู่บนเส้นข้างจนกว่าลูกจะหลุดมือแล้วผู้ตัดสินไม่ต้องใช้สัญญาณนกหวีด
* ผู้รักษาประตูส่งลูก
จะต้องส่งลูกบอลข้ามเส้นเขตประตูไม่ต้องมีสัญญาณนกหวีดจากผู้ตัดสิน
* การส่งลูกกินเปล่า
1. การส่งลูกกินเปล่าจะกระทำในกรณีดังนี้
-การเปลี่ยนตัวไม่ถูกต้อง หรือเข้าสู้สนามผิดกติกา
-ผู้รักษาประตูทำผิดกติกา
-ผู้เล่นในสนามทำผิดกติกาในเขตประตู
-เล่นลูกบอลโดยไม่ถูกต้อง
-เจตนาทำให้ลูกบอลออกนอกเส้นประตูหรือเส้นข้าง
-ถ่วงเวลาในการเล่น
-การฟาวล์เนื่องจากการเข้าเล่นกับคู่ต่อสู้
-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งเริ่มเล่น
-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งเข้าเล่น
-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งจากประตู
-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งลูกกินเปล่า
-การหยุดเล่นโดยที่ไม่มีการทำผิดกติกา
-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการยิงประตูโทษ
-การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการโยนลูกของผู้ตัดสิน
-ทำผิดระเบียบเกี่ยวกับการส่ง
-การกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
-การรุกราน
2. ส่ง ณ จุดที่ผิดกติกาโดยไม่ต้องมีสัญญาณนกหวีดจากผู้ตัดสิน ถ้าฝ่ายรุกได้ส่งลูกกินเปล่า และจุดที่ผิดกติกาอยู่ระหว่างเส้นเขตประตูกับเส้นส่งลูกกินเปล่าของฝ่ายรับ การส่งนี้ให้ส่ง ณ จุดที่ใกล้ที่สุดกับจุดที่ผิดกติกานอกเส้นส่งลูกกินเปล่า
3. ในขณะที่ผู้เล่นฝ่ายรุกอยู่ในตำแหน่งพร้อมลูกบอลแล้ว เขาจะเลี้ยงลูกบอลหรือวางลูกบอลลงแล้วเก็บขึ้นมาอีกไม่ได้
4. ผู้เล่นฝ่ายรุกจะต้องไม่ถูกหรือข้ามเส้นส่งลูกกินเปล่าของฝ่ายตรงข้ามในขณะที่ทำการส่งลูกกินเปล่า ผู้ตัดสินจะต้องจัดตำแหน่งผู้เล่นฝ่ายรุกที่เข้าไปอยู่ในเส้นส่งลูกกินเปล่าให้ถูกต้องจากนั้นผู้ตัดสินจึงให้สัญญาณนกหวีดเพื่อส่งลูกกินเปล่า
5. ในขณะส่งลูกกินเปล่า ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องอยู่ห่างจากจุดส่งลูกกินเปล่าอย่างน้อย 3 เมตร แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นฝ่ายรับอาจยืนใกล้จุดนอกเส้นเขตประตูได้ ถ้าการส่งลูกกินเปล่าได้ทำการส่งบนเส้นส่งลูกกินเปล่า
6. ผู้ตัดสินจะต้องไม่ให้มีการส่งลูกกินเปล่าในขณะที่ฝ่ายป้องกันทำผิดกติกา ซึ่งจะทำให้ฝ่ายรุกเกิดการเสียเปรียบ ถ้าการทำผิดกติกานั้นเป็นเหตุให้ฝ่ายรุกเสียการครอบครองลูกบอล จะต้องให้ฝ่ายรุกได้ส่งลูกกินเปล่าเป็นอย่างน้อยถ้ามีการทำผิดกติกา แล้วฝ่ายรุกยังคงครอบครองลูกบอลได้อีกครั้ง จะต้องไม่ให้มีการส่งลูกกินเปล่า
7. ในกรณีที่การเล่นได้หยุดลงโดยไม่มีฝ่ายใดทำผิดกติกา และมีทีมหนึ่งครอบครองลูกบอลอยู่ การเล่นจะเริ่มใหม่โดยทีมที่ครอบครองลูกบอล ณ จุดที่การเล่นได้หยุดลง โดยการส่งลูกกินเปล่าหรือการส่งตามข้อกำหนด และผู้ตัดสินต้องให้สัญญาณนกหวีด
8. ในขณะที่มีการตัดสิน ฝ่ายที่กำลังครอบครองลูกบอลอยู่จะต้องวางลูกบอลลงใกล้ๆ กับผู้เล่นนั้นทันที
* การยิงลูกโทษ
-ฝ่ายรับจะต้องอยู่ห่างจากจุดยิง ไม่น้อยกว่า 3 เมตร -ถ้าในขณะที่มีการยิงลูกโทษ ผู้รักษาประตูแตะหรือข้ามเส้นเขตผู้รักษาประตู (เส้น 4 เมตร) ก่อนที่ลูกจะหลุดจากมือผู้ยิงลูกโทษ ให้ทำการยิงประตูลูกโทษใหม่ (ถ้าลูกนั้นไม่ได้ประตู)
* การโยนลูกโดยผู้ตัดสิน
เมื่อมีการทำผิดกติกาพร้อมกัน โดยผู้เล่นทั้ง 2 ทีม หรือหยุดการเล่นโดยไม่มีฝ่ายใดทำ กระทำที่จุดกึ่งกลางสนาม
* การสั่งพัก 2 นาที
จะส่งเมื่อมีการเปลี่ยนตัวไม่ถูกต้องหรือกระทำผิดซ้ำ ฯลฯ ถ้าคนเดิมถูกสั่งพักครั้งที่ 3 คนนั้นจะถูกตัดสินออกจากการแข่งขัน ในการเตือนจะให้ใบเหลืองเพื่อแสดงให้ผู้บันทึกทราบ และให้ใบแดงในกรณีที่ทำผิดรุนแรงเกินกว่าเหตุอื่นๆ อาจจะให้แก่ผู้เล่น
* ผู้ตัดสิน 2 คน
สวมชุดสีดำ ถ้าความเห็นขัดกัน ยึดผู้ตัดสินที่อยู่ในสนามเป็นหลัก (ผู้ตัดสินที่มีชื่อแรก) และมีหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บรวบรวมใบบันทึกที่สมบูรณ์ถูกต้อง ผู้ตัดสินสามารถยุติการแข่งขันได้ แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องดำเนินการแข่งขันต่อไปก่อนที่จะมีการตัดสินให้ยุติการแข่งขัน
* การเข้าเล่นกับฝ่ายตรงข้าม
อนุญาตให้กระทำดังต่อไปนี้
*ใช้มือหรือแขนเพื่อประโยชน์ในการครอบครองลูกบอล
*แบมือเล่นลูกบอลจากคู่ต่อสู้ได้ทุกทิศทาง
*ใช้ลำตัวบังคับคู่ต่อสู้ ถ้าคู่ต่อสู้ไม่ได้เป็นฝ่ายครอบครองลูกบอล
ไม่อนุญาตให้กระทำดังต่อไปนี้
*กีดกันคู่ต่อสู้ด้วยมือ แขน หรือขา
*ผลักคู่ต่อสู้ให้เข้าไปอยู่ในเขตประตู
*ดึงหรือตีลูกบอลด้วยมือเดียวหรือ 2 มือให้ออกจากมือคู่ต่อสู้ที่ครอบครองลูกบอลอยู่
*ใช้กำปั้นทุบลูกบอลจากคู่ต่อสู้
*ใช้ลูกบอลทำให้คู่ต่อสู้เกิดอันตราย
*ทำให้ผู้รักษาประตูเกิดอันตราย
*ดึงคู่ต่อสู้ด้วยมือเดียวหรือ 2 มือ หรือผลักคู่ต่อสู้
*ทำฟาวล์เกี่ยวกับการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงข้าม จะถูกลงโทษโดยการส่งลูกกินเปล่า หรือให้ยิงลูกโทษ
*การทำฟาวล์เกี่ยวกับการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงข้าม การกระทำฟาวล์ในลักษณะดังกล่าว เว้นแต่การเข้าหาคู่ต่อสู้โดยที่มิได้ครอบครองลูกบอลจะถูกลงโทษซ้ำให้พิจารณาถึงการกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬาด้วย
*การทำฟาวล์ที่ร้ายแรงเกี่ยวกับการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงข้าม หรือลักษณะการกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬาจะต้องถูกลงโทษโดยการตัดสิทธิ์ผู้เล่นคนนั้น
*ผู้เล่นที่ทำร้ายผู้อื่นในสนามจะถูกไล่ออก
*การลงโทษ
1. การเตือนโดยไม่มีการบันทึก
2. การเตือนที่ผู้ตัดสินแจ้งให้กับผู้จับเวลาและผู้บันทึกทราบ โดยการใช้บัตรสีเหลือง หมายเหตุ การเตือนทั้งทีมไม่ควรเกิน 3 ครั้ง ผู้เล่นคนอื่นๆ ทำผิดอีกจะไม่มีการเตือน แต่จะให้เป็นการสั่งพักเท่านั้น
3. การสั่งพัก จะต้องแสดงสัญญาณมือให้ผู้เล่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้บันทึก ผู้จับเวลา ได้เห็นอย่างชัดเจน (ชูมือข้างหนึ่งขึ้นและเหยียดนิ้วขึ้น 2 นิ้ว) การสั่งพักโดยปกติหยุดพัก 2 นาที แต่ถ้าเป็นผู้เล่นคนเดิมถูกสั่งพักเป็นครั้งที่ 3 ผู้เล่นคนนั้นจะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน
4. การตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
-ผู้เล่นที่ไม่มีสิทธิ์เกี่ยวข้องเข้าไปในสนาม
-การทำผิดอย่างร้ายแรงที่เกี่ยวกับการเข้าเล่นกับคู่ต่อสู้
-กระทำโดยไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
-ถูกสั่งพักครั้งที่ 3
-ก้าวร้าวเจ้าหน้าที่หรือผู้เล่นนอกสนามแข่งขัน
หมายเหตุ การตัดสิทธิ์จากการแข่งขันผู้เล่นในสนาม จะต้องทำคู่ไปกับการสั่งพัก 5. การไล่ออกจากการแข่งขัน เมื่อมีการทำร้ายกันในสนาม
หมายเหตุ การทำร้าย คือการรุกราน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำต่อร่างกายผู้อื่น เช่น ผู้เล่น ผู้ตัดสิน ผู้บันทึก ผู้จับเวลา เจ้าหน้าที่ หรือผู้ชม (การไล่ออกจากสนามผู้ตัดสินจะใช้สัญญาณ ยกมือไขว้เหนือศีรษะ)
ผู้เล่นอื่นที่ถูกไล่ออกจากสนามจะไม่อนุญาตให้ผู้เล่นอื่นเข้าแทน ผู้ถูกไล่ออกจะต้องออกจากสนามแข่งขัน และนอกบริเวณที่นั่งผู้เล่นสำรอง
6. ถ้าผู้รักษาประตูถูกสั่งพัก ตัดสิทธิ์ หรือไล่ออก จะอนุญาตให้เปลี่ยนตัวผู้รักษาประตูสำรองเข้าแทนได้ ในกรณีนี้ผู้เล่นในสนามจะต้องออกจากสนามแทน
7. การกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา หรือการก้าวร้าว จะพิจารณาโทษดังนี้
-การตัดสิทธิ์ก่อนการแข่งขัน ผู้เล่นในทีมนั้นจะได้เล่นโดยมีจำนวนผู้เล่นเต็ม 12 คน
-การตัดสิทธิ์ระหว่างการแข่งขัน จะมีการเตือนก่อน และถ้าทำการก้าวร้าวซ้ำ จะถูกพิจารณาลงโทษตัดสิทธิ์การแข่งขัน
-การตัดสิทธิ์หลังการแข่งขัน มีการเขียนรายงานให้ทราบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น